ครั้งนี้มีโอกาสเดินทางมากับทีมงาน CP ALL ร่วมกับโรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ ไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย ซึ่งก่อตั้งโดย พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) เพื่อมาทำกิจกรรมพร้อมกับเรียนรู้วิถีความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย
เกริ่นโดยคร่าวๆ ก่อนว่า โรงเรียนชาวนาเป็นโครงการที่มีเป้าหมายเพื่อจะพัฒนาศักยภาพและเครือข่ายนักเรียนชาวนาเพื่อการผลิตที่สร้างรายได้ ให้เกิดศูนย์การเรียนรู้และการผลิตในระดับครัวเรือน การแปรรูป การตลาดที่ยั่งยืน และเป็นแบบอย่างแก่เกษตรกรรายอื่นๆ และเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในอนาคต
ซึ่งทาง CP ALL ที่มองเห็นคุณค่าของชาวนาไทย ก็ได้ร่วมสนับสนุนให้คนไทยได้มองเห็นคุณค่าของชาวนาเช่นกัน
เดี๋ยวจะค่อยๆ พามาชมกันครับว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง
ไร่เชิญตะวันเบื้องต้นเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมพร้อมทั้งมีโครงการที่น่าสนใจมากมาย บนพื้นที่กว่า 200 ไร่ ซึ่งวันนี้ที่เรามีเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงจึงสามารถเยี่ยมชมได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น
รูปปั้นเณรน้อยอุ้มบาตรตั้งอยู่กลางสวน เป็นจุดปริศนาธรรมแห่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวจะนำเหรียญมาโยนให้ลงบาตร พร้อมกับอธิษฐานขอพร
ร้านกาแฟในตีม Little Prince หรือจากหนังสือนวนิยายเจ้าชายน้อยนั่นเอง
ต่อมาจะเป็นในส่วนของหอศิลป์ที่รวมผลงานศิลปะของ อ.ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ และจากศิลปินชื่อดังหลายท่านในบ้านเรา ที่มอบให้ท่าน ว.วชิรเมธี สำหรับเป็นสื่อสอนธรรมะผ่านงานศิลปะ
ผลงานแต่ละชิ้นจะมีปริศนาธรรมแฝงอยู่
Wisdom from the tree หรือ ต้นไม้แห่งปัญญา
ในส่วนนี้จะเป็นลานกว้างที่ปลูกต้นไม้แห่งปัญญาหรือต้นยางเอาไว้ถึง 80 ต้น ซึ่งทุกต้นถูกบวชป่าเอาไว้ จึงเป็นต้นยางที่ไม่มีการถูกรีดน้ำยางออกมา แต่ละต้นจะมีคำสอนที่น่าสนใจทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ที่น่าสนใจคือที่ต้นไม้จะมี QR Code สามารถสแกนเพื่อเข้าถึงลิงก์ไฟล์เสียงได้อีกด้วย
อีกหนึ่งจุดแลนด์มาร์คที่ควรค่าแก่การมาเก็บภาพงามๆ โดยเฉพาะสาวๆ น่าจะได้รูปโปรไฟล์ใหม่เก็บกันไปเพียบเลย โดยความสวยงามเหล่านี้ก็จะมีอยู่ทั่วทุกแห่งในไร่เชิญตะวันนี้ เดินถ่ายรูปจนเมมเต็มเลยครับวันนั้น
แม้แต่ทางเข้าร้านกาแฟยังจัดเป็นสวนย่อมๆ พร้อมกับมีบ่อปลาคาร์ฟสวยๆ อยู่ด้วย
ครั้งนี้ผมมีโอกาสได้พบกับท่าน ว.วชิรเมธี ด้วยครับ ท่านให้ข้อคิดเอาไว้เยอะมาก โดยเฉพาะการแบ่งปันการให้โอกาสแก่ผู้อื่น
ถัดมาเป็นในส่วนของโรงเรียนชาวนากันแล้วครับ ที่ทุกท่านเห็นอยู่ในภาพด้านล่างคือนักเรียนของโรงเรียนชาวนา ที่แต่ละท่านก็เป็นชาวบ้านในพื้นที่บริเวณนี้ ส่วนมากก็จะเป็นเกษตรกรทำไร่ทำนาเป็นหลัก
แต่ละสัปดาห์ก็จะมีวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านจากทั่วประเทศไทย ที่ทางไร่เชิญตะวันเชิญมาให้ความรู้
เป็นการสร้างเครือข่ายองค์ความรู้ของเกษตรกร ที่ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้แบบฟรีๆ เพื่อนำความรู้ไปใช้พัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน ครั้งนี้เค้าจัดมาเป็นรุ่นที่ 10 แล้ว หลายท่านที่นั่งอยู่ก็จะคละกันไปหลายรุ่น เพราะเรียนจบไปแล้วก็สามารถกลับมาเรียนซ้ำได้อีกเรื่อยๆ
มีนักเรียนหลายท่านประสบความเร็จจากได้มาที่โรงเรียนชาวนาและนำไปปรับใช้ในพื้นท่ีของตัวเอง ซึ่งนอกจากการความรู้แล้ว ยังเป็นการสร้างเครือข่ายของเกษตรกรที่มารวมกัน
ฝั่งผู้ผลิตก็มาเจอกับฝั่งตลาดที่รับสินค้าโดยตรง ทำให้ลดขั้นตอน และพ่อค้าคนกลางไปได้มาก รายได้ก็มาถึงเกษตรกรแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงการเปิดตลาดให้เกษตรกรนำสินค้ามาขายในตลาดอีกด้วย ซึ่งจะพาไปชมในส่วนถัดไป

ทาง CP ALL เองก็เสริมสร้างศักยภาพชาวนาไทยในการผลิต และเพิ่มมูลค่าเกษตรอินทรีย์ สู่การเป็นผู้ประกอบการสัมมาชีพ ด้วยการส่งเสริมการนำทักษะความรู้จากหลักสูตรโรงเรียนชาวนา สู่การปฏิบัติเพื่อการสร้างรายได้ที่ยั่งยืน
โดยให้ความสำคัญกับการทำเกษตรกรรมในรูปแบบเกษตรอินทรีย์ตามแนวคิดหลักของโรงเรียนชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ รวมถึงวางแผนการผลิตและการตลาด, การสื่อสาร, การแปรรูปผลิตผลอินทรีย์เป็นผลิตภัณฑ์ของชาวนา
Farmer Fest
ตลาดนัดชาวนาที่ได้กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ เป็นพื้นที่ที่ให้เกษตรกรสามารถนำสินค้ามาจำหน่ายถึงผู้บริโภคได้โดยตรง
มีน้องๆ นักเรียนเล่นดนตรีต้อนรับพวกเราด้วยครับ
ทำหน้าให้มัน มันส์ๆ หน่อย!!!
บรรยากาศก็จะเป็นแนวตลาดนัดทั่วไปเลยครับ แต่จะมีความครึกครื้นจากพ่อค้าแม่ค้าด้วย เนื่องจากคนในชุมชนเองก็รู้จักกันหมดอยู่แล้ว และส่วนมากก็จะเป็นนักเรียนโรงเรียนชาวนานี่แหละ
ชิมชาป่าร้อนๆ จากชุมชนชาวอาข่า
สินค้าโดยทั่วไปก็จะเป็นของกินพื้นเมือง และงานฝีมือจากชาวบ้าน ขายบ้าง แจกบ้าง ได้คุยกับคุณลุงคุณป้าสนุกดีครับ
กิจกรรมที่พวกผมได้ร่วมทำกับชาวนาและชุมชนในครั้งนี้คือ การทำนาโยน เป็นกิจกรรมที่ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันโยนต้นข้าวลงในนา
เริ่มต้นด้วยพิธีไหว้พระแม่โพสพ ข้างคันนาข้าว เพื่อขอพรจากพระแม่ เพื่อให้การปลูกข้าวในครั้งนี้มีผลผลิตที่ดี เป็นประเพณีที่สืบสานกันมาอย่างยาวนาน
นี่คือต้นอ่อนของต้นข้าวที่เตรียมไว้สำหรับโยนนั่นเอง หน้าตาเป็นแบบนี้
เราก็จะดึงต้นกล้าออกมาจากถาดเตรียมไว้แบบนี้
ก่อนการโยนนา ก็มีการเปิดเพลงเต้นรำกันอย่างสนุกสนาน บรรยากาศในตอนนั้นคือสุดมาก ทุกคนครึกครื้นมากกกก วันนั้นแดดก็ไม่ร้อนด้วย ทุกอย่างดูเป็นใจสุดๆ
วิธีการโยน ชาวบ้านเค้าก็จะตั้งแถวเป็นแนวหน้ากระดาน ทุกคนถือถาดใส่ต้นกล้า จากนั้นก็ค่อยๆ โยนต้นกล้าลงท้องนาพร้อมกันกับค่อยๆ เดินถอยหลังแล้วโยนไปเรื่อยๆ เพื่อให้ต้นกล้ากระจายตัวเป็นระเบียบ ไม่ทิ้งช่วงห่างหรืออยู่ติดกันจนเกินไป
แต่บางทีก็โยนรัวๆ เอามันก็มีบ้างเหมือนกันนะ ฮ่าๆๆๆ บรรยากาศมันได้
ขอขอบคุณทาง CP ALL ที่มองเห็นคุณค่าของเกษตรกรไทย พร้อมทั้งสนับสนุนชาวบ้านในหลายช่องทาง
รวมถึงทริปสนุกๆ ที่ได้ความรู้ และความประทับใจกลับบ้านไปเต็มๆ เรียกว่าเป็นครั้งแรกที่ผู้เขียนได้มาสัมผัสกับวิถีชาวนาอย่างใกล้ชิดเบอร์นี้ ได้รู้ถึงปัญหาของเกษตรกรบ้านเรา และทางแก้ไขต่างๆ
โรงเรียนชาวนาถือเป็นต้นแบบเครือข่ายเกษตรกรที่น่าสนใจมาก เหมือนเป็นมหาวิทยาลัยของเกษตรกรที่เป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีวันจบ หลายท่านที่ประสบความสำเร็จก็กลับมาเป็นวิทยากรคอยชี้ทางสว่างให้กับนักเรียนรุ่นต่อไป
ขอปิดท้ายด้วยภาพ 7-Eleven สวยๆ ในตัวเมืองเชียงราย ความเจ๋งคือ 7-Eleven หลายสาขาในบริเวณภาคเหนือ เค้าจะคุมตีมแบบโลคอลสวยๆ แบบนี้ ผ่านไปผ่านมาก็แวะมาถ่ายรูปกันได้